หม่องปันโย

20 มีนาคม 2018, 12:10:17


หม่องปันโย
รองอำมาตย์เอกหลวงโยนะการพิจิตร ต้นตระกูลอุปะโยคิน เป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่าที่มีบทบาทอย่างสูง ในสังคมเมืองเชียงใหม่เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยได้ประกอบคุณงามความดีมากมาย เป็นที่รู้จักในหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือ และให้แก่ทางราชการไทยทั้งใน สมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 รองอำมาตย์เอกหลวงโยนะการพิจิตร เดิมชื่อ หม่องปันโหย่หรือ หม่องปันโยหรือ อูปันโย ทางราชการไทยเขียน มองปันโย มีชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า หลวงโยฯ หรือ พระยาตะก่า หรือ พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวพม่าหรือแซงพอ ชื่อ ปันโย ในภาษาพม่าแปลว่า ดอกไม้ ส่วนคำว่า พระยาตะก่า หรือ พญาตะก่า ในภาษาพม่า หมายถึง ชายผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระพุทธรูป และอุปถัมภ์วัด

หลวงโย ฯ เป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่าเชื้อสายชนชั้นสูง ชาวปะกัน และ เป็นคนในบังคับอังกฤษ ท่านระบุไว้ในหนังสือขอพระราชทานนามสกุลว่า ท่านเป็นคนพม่า บิดาชื่อ อุเย มารดาชื่อต่ออุ๊ ทวดชื่อ อูบะเยาะ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเมทิลา (ปัจจุบันคือเมืองเล็กๆอยู่ทางทิศใต้ของเมืองมัณฑะเลย์.) ครอบครัวของท่านย้ายไปอยู่ใกล้วัดกันจอง เมืองมะละแหม่ง และ ท่านเกิดที่บ้านที่ถนนไดวอควิ่น เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ในวันพฤหัสบดี ขึ้นหกค่ำ ปีมะเส็ง จ.ศ. 1207/พ.ศ.2388 มีพี่น้องสามคนคือ มะยี ปันโหย่ และ อูมิน


 

       สำหรับการเริ่มต้นเข้ามาในล้านนาไทย ของหลวงโยฯ นั้น คุณสังคีต จันทนะโพธิ นักเขียนอิสระ ซึ่งเขียนเรื่องราวของหลวงโยฯ ในชุดกรุมรดกล้านนา ลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ สกุลไทยฉบับที่ ๓๐๘๕ ประจำวันที่ ๓ ธ.ค. ๒๕๕๖ โดยอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ พันไมล์บนหลังช้าง ( A Thousand Miles on an Elephant in the Shan State) ว่า มิสเตอร์ ฮอลเลตต์( MR.HALLET ) ชาวอังกฤษ ได้รับฉันทานุมัติจากรัฐบาลอังกฤษให้นำคณะมาสำรวจ เส้นทางรถไฟจาก มะละแหม่ง ผ่านตาก ลำปาง ไปเชื่อมมณฑลยูนาน ของ จีน ซึ่ง อังกฤษ จะขอสร้างจากมะละแหม่ง มา เชียงใหม่ ไป ยูนนาน ซึ่งไม่สำเร็จในครั้งนั้น แต่นายฮอลเลตต์ ได้เขียนหนังสือเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ที่ตนได้พบเห็นระหว่างท่องเที่ยวและใช้ชีวิตในล้านนาไทย ครั้นเมื่อนายฮอลเลตต์เกษียณอายุกับทางราชการ คณะพ่อค้าก็ขอให้นายฮอลเลตต์เป็นหัวหน้าคณะ มาสำรวจภูมิประเทศของล้านนาอีกครั้ง เพื่อพิจารณาเส้นทางรถไฟที่จะเชื่อมระหว่างมะละแหม่ง กับเชียงใหม่และเชียงรุ้งในประเทศจีน ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ นายฮอลเลตต์ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากเจ้านายฝ่ายเหนือของล้านนาโดยเฉพาะจากพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงค์ และ เจ้าอุบลวรรณา พระธิดา

       คุณสังคีตเล่าว่านายฮอลเลตต์ เดินทางด้วยขบวนช้างหลายเชือก โดยมองปันโย หรือหลวงโยฯ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นหนุ่มน้อย ได้เดินทางมากับคณะสำรวจด้วย จากเอกสารดังกล่าว ทำให้ทราบว่า หลวงโยฯเกิดที่เมืองมะละแหม่ง ตำบลเยามินเส่ง ประเทศพม่า




      นางแสงเพ็ชร กระแสชัย ซึ่งเป็นหลานของหลวงโยฯ ได้รับการบอกเล่าจากผู้ใหญ่ในครอบครัวว่า มองปันโย หรือ หลวงโยฯ เข้ามาค้าไม้ในไทย(ล้านนาไทย) ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อตอนปลายรัชสมัยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ (2439-2413) นอกจากนี้เราหลักฐานของ หลวงโยนะการพิจิตร เล่าประวัติของตนเองในหนังสือฏีกาถึงรัชกาลที่๕ เมื่อ เดือนพฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๒ (พ.ศ. 2446) ว่า

     “เดิมข้าพระพุทธเจ้าได้ออกจากเมืองมรแมรต์สาพิภักเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ในเมืองนครเชียงใหม่ได้ประมาณ ๓๐ ปีเศษข้าพระพุทธเจ้าก็ได้พึ่งพระบารมีของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้านครเชียงใหม่ชุบเลี้ยงข้าพระพุทธเจ้าและพระเจ้านครเชียงใหม่ได้โปรดอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้รับเช่าทำป่าไม้ตำบลแม่ป๋ามแม่ป๋อย แขวงนครเชียงใหม่มาได้ ๒๐ ปีเศษ.....”(อ้างใน สันติพงษ์ ช้างเผือกและคณะ,2545 หน้า 5)

      จากข้อมูลดังกล่าวสันนิษฐานว่าหลวงโย ฯ น่าจะเดินทางสู่ล้านนาไทย ประมาณอายุไม่เกิน 25 ปี และเข้ามาทำมาหากินอย่างถาวร อยู่ในเชียงใหม่นับแต่นั้นเป็นต้นมา ได้พึ่งพระบารมีพระเจ้านครเชียงใหม่ จนเป็นที่ไว้วางพระทัยให้เป็นผู้เช่าทำป่าไม้เป็นเวลาหลายปีต่อเนื่องกัน

      ประวัติศาสตร์ล้านนาในช่วงนี้เป็นช่วงที่อิทธิพลของอังกฤษ ได้เข้ามาครอบงำพม่าและอินเดีย และเริ่มแผ่อิทธิพลทางการเมือง เข้ามาในสยาม เชียงใหม่มีการติดต่อกับชาวตะวันตกมากขึ้น โดยเข้ามาติดต่อทำการค้าและการเผยแผ่ศาสนา และการทำป่าไม้กับบริษัทของชาวอังกฤษและชาติอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทย มีคนในบังคับอังกฤษ เช่นพม่าและอินเดีย เข้ามาอยู่ในเชียงใหม่มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาค้าขายจำนวนมาก หลวงโย ฯเป็นคนเชื้อสายพม่าคนแรก ที่สามารถเข้านอกออกในคุ้มหลวงได้ ท่านได้รับการสนับสนุนให้เริ่มต้นทำป่าไม้สักในไทย จากเจ้าอุบลวรรณา พระธิดาของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงค์ โดยเจ้าอุบลวรรณาให้ยืมช้าง ๕๐ เชือก การทำป่าไม้ของท่านประสบความสำเร็จ ทำให้ได้รับความไว้วางใจ ให้ทำป่าไม้ในป่าอื่นๆของเจ้านายฝ่ายเหนือ ชั่วชีวิตของท่าน


 

เมื่อเข้ามาประกอบอาชีพพ่อค้าไม้ไม้ในไทยอย่างมั่นคง
มองปันโยได้สมรสกับหญิงไทยชื่อนางบัวแก้ว มีบุตรธิดา ๓ คน
คือ นายโมส่วย นายองขิ่นและ นางจ๋อน ต่อมาเมื่อนางบัวแก้วเสียชีวิต
ท่านได้สมรสใหม่กับ นางบัวจีน มีบุตรธิดา ๒ คน
คือ นายทองอินทร์และนางสาวแดง เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก
ภายหลังเมื่อนางบัวจีนเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ
นางบัวจีนจึงขอให้นางหน้อยซึ่งเป็นหลานแท้ๆของนางบัวจีน
เป็นภรรยาคนที่ 3 นางบัวจีนเสียชีวิตลงในเวลาต่อมา
หลวงโยฯ มีบุตรธิดากับนางหน้อย ๙ คน คือ นายบุญสม นายทองอยู่
นายทองคำ นายทองดี นางสาวสมบูรณ์ นางเกษิณีหรือมะเย็ง
นางศิริลักษณ์หรือเส่งเหม่ นายทองสายหรือทองส่วย นางประภาศรี
หรือ แสงหล้า หรือมะเอตัน เมื่อหลวงโยฯสูงอายุต้องการการดูแล
ใกล้ชิดท่านจึงมีภรรยาคนที่4 คือ นางนางซึ่งไม่มีบุตรธิดา และไม่มีบทบาทใดๆ



------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ- เพจเชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

เอกสารอ้างอิง

สันติพงษ์ ช้างเผือก และคณะ ประวัติการให้สัมปทานป่าไม้แม่แจ่ม (รายงานการวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย “โครงการ ของหน้าหมู่” ประวัติศาสตร์ตัวตนของชุมชนกลางหุบเขาแม่แจ่ม ธันวาคม 2545

http://www.amed.go.th/aboutus/palace/sur_order.htm...

เรื่องและภาพโดย นางศรีสุดา ธรรมพงษา
(หลานตาของหลวงโยนะการพิจิตร เป็นธิดาของนางประภาศรีบุตรสาวคนสุดท้องของหลวงโย ฯและนางหน้อย )

ผู้ร่วมเขียน ผศ..ดร.กัลยา ธรรมพงษา



****************************************************************************
บริการจัดทัวร์ 
เชียงตุง เมืองยอง สิบสองปันนา คุนหมิงจีน หลวงพระบาง วังเวียงลาว มัณฑเลย์ พุกาม ทะเลสาบอินเล ตองจีรัฐฉาน

บริษัท เชียงตุงเรียลเอสเตท แอนด์ ทราเวล จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 21/00833
โทร : 092-891-2277,093-2537733,053-727255
ไลน์ไอดี : @chiangtung
เว๊ปไซค์ : Chiangtungbiz.com
youtube:http://bit.ly/2HDFdMO
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

เรื่องเล่าของนางรำจากอีกด้านของกระจก ใน โรงเรียนแห่งหนึ่ง

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ริมฝั่งเจ้าพระยา มีคนจมน้ำสังเวยบ่อยครั้ง จนต้องสร้างศาลถวาย !!!

เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี

นางพญาแห่งผ้าซิ่น 1

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน